วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

พุทธสาวก พุทธสาวิกาและศาสนาชนตัวอย่าง (คนที่ 13-16)



พระนาคเสน-พระยามิลินท์
       พระนาคเสน ตามคัมภีร์บาลีกล่าวว่า ท่านเกิดที่กะชังคลคาม ใกล้ภูเขาหิมาลัย มีชีวิตในราวพุทธศตวรรษที่ 6 (ประมาณ พ.ศ. 500 เศษ) บิดาของท่านเป็นพราหมณ์ชื่อว่า โสณุตตระ เมื่อวัยเด็ก นาคเสนกุมารได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาต่าง ๆ และเรียนได้อย่างรวดเร็วจนจบไตรเพท มีพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อ โรหณเถระ พระเถระรูปนี้ได้ไปบิณฑบาตที่บ้านบิดาของท่านเป็นประจำทุกวัน นับเวลาได้ 7 ปี 10 เดือน แต่ไม่ได้รับการยกมือไหว้ การกราบไหว้ หรือสามีจิกรรม (การแสดงความเคารพ) ได้แต่คำพูดเยาะเย้ยถากถางดูหมิ่น หลังจากนั้น พระอัสสคุตตเถระ ได้ส่งพระนาคเสนไปอยู่ในสำนักของพระธรรมรักขิตเถรณอโศการาม เมืองปาตลีบุตร เพื่อศึกษา พระพุทธวจนะให้ยิ่งขึ้น เมื่อนาคเสนเรียนรู้พระไตรปิฎกมากขึ้น ก็เกิดมีทิฐิมานะคิดว่าไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตน พระธรรมรักขิตเห็นว่าพระนาคเสนเชี่ยวชาญในปริยัติยิ่งนัก แต่การปฏิบัติยังไม่ถึงที่สุด จึงกล่าวเตือนว่า เด็กเลี้ยงโค ได้แต่ดูแลโคให้คนอื่น แต่ไม่ได้ดื่มน้ำนมโค ประดุจคนที่เรียนรู้พระพุทธพจน์มากมายจนเป็นพหูสูตรแต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำ สอน ก็ไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสพระธรรม พระนาคเสนจึงรู้สึกตัวและได้บำเพ็ญเพียรถ่ายถอนกิเลส จนได้บรรลุพระอรหันตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภทา 4 ได้แก่ ความแตกฉาน 4 ประการ คือ ในอรรถ (ใจความ) ในธรรม ในภาษา และในปฏิภาณ การสนทนาโต้ตอบระหว่างพระนาคเสนกับพระยามิลินท์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ มิลินทปัญหา ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญเล่มหนึ่งในพระพุทธศาสนาและเมื่อพระยามิลินท์ได้รับการ ถวายวิสัชนาปัญหาจากพระนาคเสนแล้ว ได้เกิดความเข้าใจในหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา สละความเห็นผิดยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด
คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้มีปัญญาใฝ่รู้อย่างแท้จริง พระนาคเสนเป็นผู้มีปัญญามาก เพราะเรียนรู้สิ่งใดสามารถทรงจำสิ่งนั้นได้และเมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษา อภิธรรมจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระอภิธรรมเมื่อศึกษาพระไตรปิฎกก็เป็นผู้แตกฉาน ในพระไตรปิฎก อันนับมาจากความเป็นผู้มีปัญญาใฝ่รู้อย่างแท้จริง
2. เป็นผู้ฉลาดมีปฏิภาณในการอธิบายธรรม พระนาคเสนขณะที่ท่านยังเป็นปุถุชน ได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาจนได้สำเร็จเป็นอริยบุคคลแม้ตัวท่านเองก็ได้สำเร็จ โสดาบันเป็นอริยบุคคลเช่นเดียวกัน และเมื่อท่านได้เป็นผู้ถวายวิสัชนาปัญหาแก่พระยามิลินท์ซึ่งเป็นผู้มีมิจฉา ทิฏฐิ (ความหลงผิด) แล้ว ก็ยังสามารถสร้างความแจ่มแจ้งและเข้าใจในหลักของพระพุทธศาสนา จนทำให้พระยามิลินท์ละทิ้งมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิและนับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด



สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
      พระวันรัต (เฮง เขมจารี ป.ธ.9) นามเดิมชื่อ เฮง หรือ กิมเฮง แซ่ฉั่ว เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2424 ณ บ้านท่าแร่ ต. สระแกกรัง อ.น้ำซึม จ.อุทัยธานี บิดาเป็นชาวจีน ชื่อ นายตั้วเก๊า มารดาชื่อ นางทับทิม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 4 คน ท่านเป็นคนที่ 3 มารดาได้เสียชีวิตเมื่อคลอดลูกคนที่ 4 ซึ่งเป็นหญิงและเสียชีวิตพร้อมกัน ยายชื่อ นางแห ได้อุปถัมภ์เลี้ยงดูตลอดมาสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นนักการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ประจำที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงและยืดยาวนานของท่านคือ นายกมหาธาตุวิทยาลัย ซึ่งท่านได้รับช่วงสืบต่อมาจากสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) พระอุปัชฌาย์ของท่าน และท่านก็สามารถทำนุบำรุงและจัดการศึกษาของสถานศึกษาฝ่ายพระมหานิกายแห่งนี้ ให้เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง สมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏในประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆิกเสนาสนราชวิทยาลัยท้าว ความเดิมถึงพระราชปณิธานที่ทรงตั้งมหาธาตุวิทยาลัยไว้ว่าอีกสถานหนึ่งเป็น ที่เล่าเรียนของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุฯ ได้เปิดการเล่าเรียนมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 108 (พ.ศ. 2432) สืบมาสมเด็จฯทุ่มเทชีวิตจิตใจและสติปัญญาลงในการจัดการศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัย อย่างจริงจัง นอกจากจัดการศึกษาโดยตรงแล้ว เพื่อสนับสนุนการศึกษาให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น สมเด็จฯได้ขวนขวายจัดตั้งมูลนิธิบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมของมหาธาตุ วิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2468 เรียกชื่อตามตราสารตั้งมูลนิธิว่ามูลนิธิโรงเรียนบาลีมหาธาตุวิทยาลัยมีคณะกรรมการทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่าย คฤหัสถ์ร่วมจัดการ และมีระเบียบดำเนินการอย่างรัดกุมเป็นอย่างดียิ่งสำนักงานของมูลนิธิตั้ง อยู่ที่สำนักงานพระคลังข้างที่ในพระบรมราชวัง การจัดตั้งมูลนิธิของสมเด็จฯ ทำให้มหาธาตุวิทยาลัยสมัยนั้นมีฐานะมั่นคงเข้มแข็งและสามารถขยายการศึกษาได้ กว้างขวางยิ่งขึ้น ในการศึกษาพระปริยัติธรรม แม้เมื่อสมเด็จฯ บำเพ็ญกุศลในคราวมีอายุครบ 5 รอบ หรือ 60 ปีบริบูรณ์ ใน พ.ศ. 2485 ยังได้สร้างหนังสือแปลบาลีแบบสนามหลวง ตั้งแต่ประโยค 3 ถึงประโยค 9 ซึ่งสมเด็จฯ แปลขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวอย่าง แจกจ่ายไปตามสำนักเรียนต่าง ๆ ทั้งในกรุงและหัวเมือง ตลอดถึงนักเรียนผู้ต้องการทั้งในสำนักวัดมหาธาตุฯ และต่างสำนัก ท่านได้อาพาธด้วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังกับขั้วปอดโตขึ้น มีอาการไอกำเริบ และมรณภาพในวันที่ 10 พฤษภาคม 2486 ณ หอเย็นคณะเลข 1 วัดมหาธาตุฯ สิริรวมอายุได้ 63 ปี 42 พรรษา
คุณธรรมที่ถือเป็นแบบอย่าง  
     สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ได้สร้างความเจริญให้แก่สำนักวัดมหาธาตุฯ เป็นอย่างมากในสมัยนั้น ทางด้านการศึกษามีพระมหาเปรียญมากรูป และได้ส่งไปเป็นครูอาจารย์ยังวัดต่าง ๆ ไปเป็นเจ้าอาวาส เจ้าคณะปกครอง เกียรติยศชื่อเสียงของพระสำนักวัดมหาธาตุฯ ระบือไปทั่วสังฆมณฑล ตลอดจนการก่อสร้างซ่อมแซมในวัดมหาธาตุ การก่อตั้งมูลนิธิ ระเบียบกติกาของวัด ทำให้พระเณรเรียบร้อยความขยันหมั่นเพียร เป็นที่ศรัทธาปสาทะของสาธุชนทั้งหลายเป็นอย่างมาก จึงถือว่าเป็นผู้ทำคุณงามความดีต่อพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล






  


พระอาจารย์มั่น ภูริทตโต
        พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อ คำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ. อุบลราชธานี) มีพี่น้อง ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนแรกของตระกูล มีบุคลิกลักษณะเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี บิดาได้ขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานของบิดาด้วยความพยายามและเต็มความสามารถ  ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๒๒ ปี ได้อำลาบิดามารดาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้นามฉายาว่า ภูริทตฺโต แปลว่า ผู้ให้ปัญญา ผู้แจกจ่ายความฉลาดเมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้กลับมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดเลียบ และในระหว่างนั้น ท่านได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติ มารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดีจนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาย์และ ให้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือเดินจงกรมนั่งสมาธิกับการสมาทานธุดงควัตรต่าง ๆในวัยชรานับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาอยู่จำพรรษาที่จังหวัดสกลนคร หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำปี
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
      พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ศึกษาเล่าเรียนและประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่ง ครัด วัตรปฏิบัติของท่านนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาแก่ศิษยานุศิษย์และพุทธ ศาสนิกชนเป็นจำนวนมากในวัยเด็กท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายมีความทรงจำดี และมีความขยันหมั่นเพียร ชอบการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมเทศนาของท่านมักให้ข้อคิดแก่ผู้ฟัง เช่นท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษ แห่งคัมภีร์ใบ ลานเปล่า ๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขา มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย จงพากันมีสติคอยระวังตัวอย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่า ๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลยนี่คือคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตที่เคยพูดเสมอ ๆ นอกจากนั้นท่านยังเป็นตัวอย่างของพระนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใส

    

พระโพธิญาณเถระ  (ชา สุภทโท)
ชาติภูมิ   พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้สนจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 10 คน                                                  
 การศึกษา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน                                                                                                                                                                     การเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ออกธุองค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ในสำนักต่างๆ เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่กินรี พออินทรีย์แก่กล้าแล้ว ก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ และหลังจากที่ท่านได้สร้างวัดหนองป่าพงแล้ว ท่านก็ได้ให้ความรู้และการประพฤติปฏิบัติธรรมต่อพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ รวมทั้งได้รับอาราธนาไปเผยแพร่ธรรมในต่างประเทศ ทั้งยุโรป และอเมริกา จนในปัจจุบันได้ขยายสาขาของวัดหนองป่าพงไปทั้งในกว่าสองร้อยสาขา และขยายไปยังต่างประเทศอีกกว่าสิบสาขา มีพระภิกษุชาวต่างชาติที่สนใจบวชอยู่ในสังกัดวัดหนองป่าพงประมาณเกือบสอง ร้อยรูป อยู่ตามสาขาวัดหนองป่าพงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งพระภิกษุเหล่านี้ ต่างก็เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไปอีกด้วย
คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง
1. เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ท่านได้เป็นแบบอย่างของพระวิปัสสนา จนมีผู้นำแบบอย่างของท่านมาเป็นแนวปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านจึงมีลูกศิษย์ที่เป็นพระวิปัสสนาที่สำคัญ ๆ หลายท่าน นอกจากนั้นท่านยังเป็นแบบอย่างของบุคคลผู้ถือความมักน้อย สันโดษ เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาเศรษฐกิจที่ควรทำตนให้ เป็นคนพอดีในการดำรงชีวิต
2. ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ เช่น ยุโรป อเมริกา จนเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศที่เข้ามาบวช และศึกษาพระพุทธศาสนา จึงเป็นกำลังสำคัญท่านหนึ่งในการประกาศพระพุทธศาสนาให้แผ่ขยายกว้างไกลต่อไป


























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น